นอนหลับสนิทพักผ่อนสบาย Well-being ที่ ANIL Sathorn 12

23 Aug 2021
Cover - A Good Night's Sleep นอนหลับสนิท พักผ่อนสบาย Well-being ดีๆ ที่ ANIL Sathorn 12
การนอนหลับคือหัวใจของการดำรงชีวิต มนุษย์เราใช้เวลานอนโดยเฉลี่ยถึง 1 ใน 3 หรือประมาณ 25 ปีของช่วงเวลาทั้งหมดในชีวิต* การนอนหลับที่ดีช่วยคงสถานะความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย ช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการ ‘แรมต่ำ’ เหนื่อยล้าเพียงชั่วครู่ชั่วคราว หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเพราะร่างกายไม่ ‘ฟังก์ชัน’ อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไปจนถึงโรคเรื้อรังที่อาจคุกคาม Well-being ของเราในระยะยาว
 
นอกจากความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย การนอนหลับยังส่งผลโดยตรงต่อจิตใจ อย่างที่ Matthew Walker นักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ และผู้เขียนหนังสือ Why We Sleep ได้เขียนเอาไว้ว่า “When sleep is abundant, minds flourish. When it is deficient, they don't.” เมื่อนอนหลับอย่างเพียงพอ จิตใจก็จะเบิกบาน แต่ถ้าหากอดนอนเมื่อไหร่ จิตใจก็ห่อเหี่ยว
 
การนอนหลับ มีบทบาทสำคัญต่อ ความเป็นอยู่ที่ดีทั้งกายและใจ ของมนุษย์เราทุกคนไม่ว่าจะช่วงวัยไหนก็ตาม แล้วการนอนหลับแบบไหนที่เรียกว่า การนอนหลับที่ดี ลองเริ่มสังเกตง่ายๆ ด้วยตัวเองว่า ตื่นเช้าขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่นไหม? พร้อมใช้ชีวิตที่เพิ่งเริ่มต้นอีกวันหรือเปล่า? โดยเฉพาะผู้คนที่อยู่ในเมืองใหญ่ เคยตั้งคำถามหรือไม่ว่าความเงียบสงบที่แท้จริงนั้นหน้าตาเป็นแบบไหน? มีปัจจัยอะไรที่เผลอมองข้ามไปเมื่อ ‘สร้างห้องนอน’ หรือเปล่า? มาค้นหาคำตอบของคำถามทั้งหมดนี้ไปพร้อมๆ กัน
 
*อ้างอิงจากหนังสือ Principles of Neural Science โดยศาสตราจารย์ Eric Kandel แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชและนักประสาทวิทยา
นอนหลับสนิทในสภาพแวดล้อมที่ดี มอบ Well-being ให้กับชีวิตที่ ANIL Sathorn 12
 
 
นาฬิกาชีวิตที่เปลี่ยนไป ในแต่ละวัย
 

ร่างกายมนุษย์หมุนไปตามนาฬิการ่างกาย (Circadian rhythms) ที่เกี่ยวข้องกับการตื่นและการนอนโดยตรง ซึ่งจังหวะการหมุนจะเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป ตัวเลขอยู่ที่ประมาณครึ่งชั่วโมงทุกๆ ทศวรรษ (10 ปี) โดยเริ่มตั้งแต่วัยกลางคน แน่นอนว่าความต้องการ ‘การนอนหลับ’ ของคนแต่ละวัยก็แตกต่างกันไป วัยรุ่นควรหลับคืนละ 8-10 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ที่ 7 ชั่วโมงขึ้นไป หรือผู้สูงอายุตั้งแต่ 60-65 ปีที่ 7-9 ชั่วโมง การนอนหลับยังเกี่ยวข้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปตามวัย อาทิ ผู้สูงอายุ 60-65 ปีขึ้นไปมักจะกระฉับกระเฉงตอนเช้าตรู่ เหนื่อยอ่อนในช่วงตอนเย็น ส่งผลให้เข้านอนเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ เพราะร่างกายของคนเราจะเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนไปตลอดชีวิต การได้นอนหลับสนิท เพียงพอ เหมาะกับความต้องการในแต่ละช่วงวัย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ในระยะยาว ทั้งพฤติกรรมส่วนตัวที่ส่งผลต่อการนอน สภาพแวดล้อมห้องนอน รวมถึงปัจจัยภายนอกที่ควรเอื้อให้เกิดการนอนหลับที่ ‘ดี’ จริงๆ

 
แหล่งอ้างอิง:
- How Much Sleep Do I Need? โดย Centers for Disease Control and Prevention
- How Age Affects Your Circadian Rhythm โดย Sleep Foundation


 
มืดแต่ไม่มิด แสงในบ้านที่ถูกมองข้าม
 

เราใช้ชีวิตไปตามแสงเจิดจ้าของพระอาทิตย์ มีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นมากมายระหว่างวัน จนบางครั้งก็หลงลืมที่จะให้ความสำคัญกับการพักผ่อน ยอมสละเวลาซ่อมแซมร่างกายและฟื้นฟูจิตใจ แลกกับการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่มองว่าต้องมาก่อนการนอนหลับ และบ่อยครั้งก็ส่งผลเสียมากกว่าผลเสียต่อนาฬิการ่างกายของเรา

 

แสงคือศัตรูตัวฉกาจของการนอนหลับที่ดี เพราะนาฬิการ่างกายมีความสัมพันธ์ต่อช่วงเวลากลางวันและกลางคืน หมายความว่ามันตอบสนองต่อ ‘ความสว่าง’ และ ‘ความมืด’ รอบตัวเราร่างกายของเราจะเข้าสู่โหมดนอนหลับเมื่อรอบตัวมืดลง การที่มีแสงมารบกวนก็เท่ากับว่านาฬิการ่างกายจะหลุดจากวัฏจักรธรรมชาติของมัน โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่ช่วงเวลากลางคืนยังเจิดจ้าไปด้วยแสงนีออนจากป้าย แสงไฟจากถนน หรือแสงจากการจราจร

 

ยิ่งไปกว่านั้น ต้นกำเนิดแสงในบ้านหรือในห้องนอนยังมีบทบาทสำคัญต่อการนอนหลับที่ดี ไม่ว่าจะเป็นแสงเล็กจิ๋วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่บังแสงหรือผ้าม่านหน้าต่าง ความสว่างของหลอดไฟในห้องนอน หรือแม้แต่รูปแบบไฟนำทางเมื่อต้องลุกไปเข้าห้องน้ำกลางดึก รายละเอียดเล็กๆ ที่มักถูกมองข้ามเหล่านี้อาจกำลังขัดขวาง A Good Night’s Sleep โดยไม่รู้ตัว

 
แหล่งอ้างอิง:
- Street Lights and Circadian Sleep Cycles โดย City of Cambridge
- Circadian Rhythms โดย National Institute of General Medical Sciences
- What Is Circadian Rhythm? โดย Sleep Foundation


เงียบแต่ไม่สงบ เสียงที่ได้ยินจนเคยชิน
 

อีกหนึ่งภัยร้ายที่เรามองไม่เห็นแต่อาจได้ยินชัดเจนก็คือ เสียงรบกวนจากภายนอก (Environmental noise) โดยเฉพาะเสียงรถราบนท้องถนน เสียงรถฉุกเฉิน เสียงเครื่องบิน ที่เพิ่มการหลับระยะแรก ที่ถูกปลุกให้ตื่นได้ง่ายๆ แต่กลับลดการหลับระยะ 3-4 ที่เป็นช่วงหลับลึก (Slow wave) และระยะสุดท้ายหรือ REM ที่สมองมีความตื่นตัวสูง โดยสรุปแล้วคือนอนหลับไม่สนิท ไม่เต็มอิ่มนั่นเอง

 

เมื่อสมองและร่างกายถูกปลุกให้ตื่นด้วยเสียงรบกวนบ่อยๆ การนอนหลับจะไม่สมบูรณ์ ไม่ครบทุกระยะตามที่ควร ยิ่งถ้าเป็นเสียงที่ทำให้ตกใจหวาดกลัว ก็อาจส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติ หัวใจเต้นแรง หรือความดันพุ่งสูง และแม้กระทั่งเสียงเบาๆ ที่เราอาจคิดว่าชินแล้ว เช่น เสียงแจ้งเตือนจากโทรศัพท์ เสียงปี๊บเบาๆ ที่ไม่ได้ปลุกให้ตื่น ก็ส่งผลต่อจิตใต้สำนึกและการหลับบางระยะด้วยเช่นกัน

 

เสียงรบกวนส่งผลเสียต่อการนอนหลับยามค่ำคืนแบบทันทีทันใด แล้วยังส่งผลกระทบในเช้าวันถัดไป ในรูปแบบของความรู้สึกที่ไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่าเมื่อตื่นนอน และที่สุดแล้วหาก ‘นอนไม่พอ’ บ่อยๆ เข้าก็อาจนำไปสู่ปัญหาทางร่างกายและจิตใจในระยะยาว สำหรับพื้นที่ในบ้านหรือในห้องนอน การติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเสียงรบกวนน้อย หรือการเลือกใช้กระจกคุณภาพที่ช่วยกรองเสียงจากถนนใหญ่ ก็จะทำให้ร่างกายได้นอนหลับ ‘สนิท’ และพักผ่อน ‘เพียงพอ’ ซึ่งส่งผลต่อไปยังความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมของชีวิตอย่างแน่นอน หากเราตื่นเช้ามาอย่างสดชื่น เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง ก็จะสามารถใช้ชีวิตในวันนั้นๆ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งกับตัวเองและคนรอบข้าง

 
แหล่งอ้างอิง:
- Environmental noise and sleep disturbances: A threat to health? โดย Demian Halperin
- How Noise Can Affect Your Sleep Satisfaction โดย Sleep Foundation
 
 
การนอนหลับคือกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ
 

กลับมาตอบคำถามที่ว่า “การนอนหลับที่ดี” หน้าตาเป็นอย่างไร? หากใช้ความรู้สึกของตนเองเป็นตัววัด มันคือการนอนหลับที่ทำให้เช้าวันต่อมาสดชื่น สดใส กระปรี้กระเปร่า คือความรู้สึก ‘อยากใช้ชีวิต’ อยากออกไปค้นพบว่าวันนี้มีอะไรรออยู่บ้าง และในทางวิชาการ Healthy Sleep คือการนอนหลับให้ครบทั้ง 5 ระยะ ไม่ขาดตอน จำนวนชั่วโมงเพียงพอ และรักษาตารางเวลาการนอนที่สม่ำเสมอให้เหมาะสมกับจังหวะนาฬิการ่างกายของตนเอง เพราะการนอนหลับคือกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ WELL Building Standard ใช้เป็นมาตรวัดหลักในระดับสากล เพื่อสร้างความตระหนักและสนับสนุนการใช้ชีวิตแบบ เป็น-อยู่-ดี มี Well-being ที่สมบูรณ์และยั่งยืน ANIL Sathorn 12 จึงให้ความสำคัญกับการออกแบบสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการนอนหลับที่ดี ที่เต็มอิ่ม ที่เพียงพอ สำหรับทุกๆ คนในครอบครัว ตั้งแต่การออกแบบแสงสว่างให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ใช้งาน และออกแบบเซนเซอร์เปิดไฟนำทางเฉพาะจุดเพื่อไปห้องน้ำในตอนกลางคืน โดยไม่ต้องเปิดไฟสว่างทั้งห้องให้รบกวนการนอน เราเลือกใช้กระจกคุณภาพที่ช่วยกรองเสียงทั้งจากถนนใหญ่และจากรถไฟฟ้า รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเสียงรบกวนน้อย อาทิ เครื่องปรับอากาศและเครื่อง ERV นอกจากนี้ยังมี Active Ventilation Design ที่ช่วยเติมอากาศบริสุทธิ์ภายในห้องพัก ให้คุณสูดหายใจได้อย่างเต็มปอด รวมทั้งคอยปกป้องเราจากมลพิษทางอากาศ แบคทีเรีย เชื้อโรค และไวรัสต่างๆ รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย

ANIL Sathorn 12 ตั้งใจเก็บทุกรายละเอียดที่เอื้อให้คุณนอนหลับได้สนิท พักผ่อนได้สบาย เพราทุกค่ำคืนที่เข้านอนนั้นส่งผลโดยตรงกับ Well-being ทั้งร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ รวมไปถึงความสุขสบายทางจิตใจ เป็นสุขภาวะที่ดีของผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง


ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ หรือศึกษาข้อมูล WELL Building Standard ที่โครงการ ANIL Sathorn 12 คลิก bit.ly/3CXyYRF


*เงื่อนไขเป็นตามที่บริษัทฯ กำหนด
 
 

นัดเข้าชมโครงการอย่างปลอดภัยด้วย Private Appointment กับที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้รับวัคซีนแล้ว หรือ ผ่าน Live Video Tours ได้ที่่

LINE Official : @GrandUnity? หรือคลิก lin.ee/43DSpj9sx

สามารถเข้าชมโครงการได้ทุกวัน เวลา 10. 00 – 17.00 น.?

โทรสอบถามเพิ่มเติม : 02 652 4000?